เตรียมพร้อมสำหรับนมาซ

หลังจากเรียนรู้เรื่องวุฎูอฺ ฆุซลฺ ตะยัมมุม เวลานมาซ การปกปิดขณะนมาซ และสถานที่นมาซแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเตรียมพร้อมสำหรับนมาซ

อะซานและอิกอมะฮฺ

ข้อที่ ๑๘๔. มุซตะฮับ สำหรับผู้นมาซทุกท่านที่ก่อนนมาซให้อะซานและอิกอมะฮฺ หลังจากนั้นจึงเริ่มนมาซ

อะซาน

ให้กล่าว ๔ ครั้งว่า الله اَكْبَر
ให้กล่าว ๒ ครั้งว่า اَشْهَدُ اَنْ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللّه
ให้กล่าว ๒ ครั้งว่า اَشْهَدُ اَنَّ مُحَمَّدًا رَسُوْلُ الله
ให้กล่าว ๒ ครั้งว่า اَشْهَدُ اَنَّ عَلِيًّا وَ لِيُّ الله
ให้กล่าว ๒ ครั้งว่า حَيَّ عَلَى الصَّلَاةِ
ให้กล่าว ๒ ครั้งว่า حَيَّ عَلَى الْفَلَاحِ
ให้กล่าว ๒ ครั้งว่า حَيَّ عَلَى خَيْرِ الْعَمَلْ
ให้กล่าว ๒ ครั้งว่า الله اَكْبَر
ให้กล่าว ๒ ครั้งว่า لاَ اِ لَهَ اِلاَّ الله

อิกอมะฮฺ

ให้กล่าว ๒ ครั้งว่า الله اَكْبَر
ให้กล่าว ๒ ครั้งว่า اَشْهَدُ اَنْ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللّه
ให้กล่าว ๒ ครั้งว่า اَشْهَدُ اَنَّ مُحَمَّدًا رَسُوْلُ الله
ให้กล่าว ๒ ครั้งว่า اَشْهَدُ اَنَّ عَلِيًّا وَ لِيُّ الله
ให้กล่าว ๒ ครั้งว่า حَيَّ عَلَى الصَّلَاةِ
ให้กล่าว ๒ ครั้งว่า حَيَّ عَلَى الْفَلَاحِ
ให้กล่าว ๒ ครั้งว่า حَيَّ عَلَى خَيْرِ الْعَمَلْ
ให้กล่าว ๒ ครั้งว่า قَدْ قَامَتٍ الصَّلَاةَ
ให้กล่าว ๒ ครั้งว่า الله اَكْبَر
ให้กล่าว ๑ ครั้งว่า لاَ اِ لَهَ اِلاَّ الله

ข้อที่ ๑๘๕. ประโยคที่กล่าวว่า (اَشْهَدُ اَنَّ عَلِيًّا وَ لِيُّ الله) ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของอะซานและอิกอมะฮฺ แต่เป็นการดีเมื่อกล่าวประโยคว่า (اَشْهَدُ اَنَّ مُحَمَّدًا رَسُوْلُ الله) จบแล้วให้กล่าวประโยคดังกล่าวออกมาโดยเนียตกุรบัต

เงื่อนไขของอะซานและอิกอมะฮฺ

ข้อที่ ๑๘๖. อะซานและอิกอมะฮฺต้องกล่าวเมื่อเข้าเวลานมาซแล้ว แต่ถ้ากล่าวก่อนเวลานมาซ ถือว่าบาฏิล

ข้อที่ ๑๘๗. อิกอมะฮฺต้องกล่าวหลังจากอะซาน ถ้ากล่าวก่อนอะซานถือว่าไม่ถูกต้อง

ข้อที่ ๑๘๘. ต้องไม่ทิ้งช่วงว่างระหว่างประโยคทั้งในอะซานและอิกอมะฮฺให้มากจนเกินไป แต่ถ้าทิ้งช่วงระหว่างประโยคมากเกินปกติ ต้องกล่าวใหม่อีกครั้ง

ข้อที่ ๑๘๙. ถ้าได้กล่าวอะซานและอิกอมะฮฺสำหรับนมาซญะมาอะฮฺแล้ว และบุคคลที่นมาซร่วมกับญะมาอะฮฺต้องไม่กล่าวอะซานและอิกอมะฮฺอีก  

ข้อที่ ๑๙๐. ถ้าต้องการไปนมาซญะมาอะฮฺที่มัสญิด แต่เมื่อไปถึงเห็นว่านมาซญะมาอะฮฺ อะซาน และอิกอมะฮเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถ้าผู้นมาซยังไม่ได้แยกแถวหรือแยกกันออกไป ต้องไม่อะซานหรืออิกอมะฮฺสำหรับนมาซของตน

ข้อที่ ๑๙๑. นมาซมุซตะฮับไม่มีอะซานและอิกอมะฮฺ

ข้อที่ ๑๙๒. มุซตะฮับให้อะซานทางหูข้างขวา และอิกิมะฮฺทางหูข้างซ้ายแก่นทารกที่เพิ่งคลอดออกมา

ข้อที่ ๑๙๓. มุซตะฮับ ให้กำหนดคนอะซานที่รู้จักเวลา มีความยุติธรรม (ไม่ทำบาป) และเสียงดังไพเราะ

ขั้นตอนนมาซ

ข้อที่ ๑๙๔. นมาซเริ่มต้นด้วยการกล่าวว่า อัลลอฮุอักบัร และจบด้วย สลาม

ข้อที่ ๑๙๕. สิ่งที่ต้องกระทำในนมาซมีทั้ง วาญิบ และมุซตะฮับ

ข้อที่ ๑๙๖. สิ่งที่เป็นวาญิบในนมาซมี ๑๑ ชนิด ซึ่งบางชนิดเป็นรุกนฺ (กฎเกณฑ์) ของนมาซ และบางชนิดไม่ใช่

สิ่งที่เป็นวาญิบในนมาซประกอบด้วย

- เนียต                           - การยืน                         - ตักบีเราะตุลอิฮฺรอม                     - รูกูอฺ

- ซุญูด                           - กะรออัต                       - ซิกรฺ                                        -ตะชะฮุด

- สลาม                          - ปฏิบัติไปตามขั้นตอน       - มีความต่อเนื่องในการปฏิัติ

สิ่งที่รุกนฺ (กฏเกณฑ์) ของนมาซ

-          เนียต

-          ตักบีเราะตุลอิฮฺรอม                      

-          การยืน ขณะตักบีเราะตุลอิฮฺรอม และยืนที่ต่อเนื่องกับรุกูอฺ หมายถึงยืนตรงก่อนลงรุกูอฺ                     

-          รกูอฺ

-          ซุญูด

ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นรุกนฺกับไม่ใช่รุกนฺ

ข้อที่ ๑๙๗. สิ่งที่เป็นรุกนฺของนมาซ ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับนมาซ ถ้าไม่ได้ทำหรือทำมากกว่าหรือน้อยกว่าที่กำหนดไว้ทั้งโดยตั้งใจ ลืม หรือผิดพลาดก็ตาม นมาซบาฏิล ส่วนวาญิบอื่นแม้ว่าจำเป็นต้องทำ ถ้าผิดพลาดโดยทำมากหรือน้อยกว่าที่กำหนดไว้ นมาซไม่บาฏิล แต่ถ้าตั้งใจทำให้มากหรือน้อยกว่า นมาซบาฏิล

อะฮฺกามวาญิบต่า่ง ๆ ของนมาซ

เนียต

ข้อที่ ๑๙๘. ผู้นมาซทุกท่านเมื่อเริ่มต้นนมาซจนกระทั่งเสร็จสิ้นต้องรู้ตัวเองว่า กำลังนมาซอะไร และการที่นมาซก็เพื่อปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์เท่านั้น

ข้อที่ ๑๙๙. เนียตไม่จำเป็นต้องกล่าวออกมา แต่ถ้ากล่าวออกมาไม่เป็นไร

ข้อที่ ๒๐๐. นมาซต้องห่างไกลจากการโอ้อวด หมายถึงนมาซที่ทำนั้นเพียงเพื่อปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์เีพียงอย่างเดียว ฉะนั้น ถ้าบางส่วนของนมาซหรือทั้งหมดได้ปฏิบัติเพื่อบุคคลหรือสิ่งอื่น นมาซบาฏิล

ตักบีเราะตุลอิฮฺรอม                    

ข้อที่ ๒๐๑. เมื่อกล่าว อัลลอฮุอักบัร จบเป็นอันว่านมาซได้เริ่มต้นแล้ว ซึ่งการกล่าวตักบีรตรงนี้เรียกว่า ตักบีเราะตุลอิฮฺรอม เนื่องจากหลังจากกล่าวตักบีรนี้แล้วภารกิจต่าง ๆ ที่ก่อนเข้านมาซอนุญาตให้ปฏิบัติ แต่หลังจากนี้เป็นต้นไป ฮะรอม ห้ามปฏิบัติสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นอีก เช่น การกิน การดื่ม หัวเราะ และการร้องไห้ ยกเว้นร้องไห้เนื่องจากสำนึกและเกรงกลัวพระองค์

ข้อที่ ๒๐๒. มุซตะฮับสำหรับผู้นมาซทุกท่าน ขณะที่กล่าวตักบีเราะตุลอิฮฺรอม หรือตักบีรอื่น ๆ ให้ยกมือเสมอกับใบหู

การยืน

ข้อที่ ๒๐๓. กิยาม หมายถึงการยืน ผู้นมาซทุกท่านขณะกล่าวตักบีเราะตุลอิฮฺรอม หรือกล่าวซิกรฺต้องยืนตรงในท่าสงบนิ่ง

ข้อที่ ๒๐๔. ถ้าลืมรุกูอฺ โดยที่หลังจากกล่าวซูเราะฮฺฟาฏิฮะฮฺและซูเราะฮฺจบแล้วได้ก้มลงเพื่อซัจญฺดะฮฺ แต่นึกขึ้นได้ว่ายังไม่ได้รุกูอฺ ให้ยืนตรงก่อนหลังจากนั้นจึงลงรุกูอฺ แต่ถ้าไม่ยืนตรงโดยลงรุกูอฺทันทีในท่าที่กำลังก้มอยู่นั้น ซึ่งเท่ากับว่าไม่ได้ยืนตรงที่ต่อเนื่องกับรุกูอฺ นมาซบาฏิล

ข้อที่ ๒๐๕. ผู้นมาซขณะยืนตรงต้องวางเท้าทั้งสองลงพื้น โดยไม่จำเป็นว่าต้องทิ้งน้ำหนักตัวไว้ที่เท้าทั้งสอง ดังนั้น ถ้าทิ้งน้ำหนักตัวไว้ที่เท้าข้างหนึ่งข้างใดไม่เป็นไร

ข้อที่ ๒๐๖. บุคคลที่ไม่สามารถยืนนมาซได้แม้ว่าจะใช้ไม้เท้าช่วยพยุง หรือยืนเกาะกำแพงก็ตาม ดังนั้น อนุญาตให้นั่งนมาซโดยหันหน้าไปทางกิบละฮฺ ถ้าไม่สามารถนั่งได้ให้นอนนมาซ

ข้อที่ ๒๐๗. วาญิบหลังจากรุกูอฺแล้วต้องยืนตรงสมบูรณ์ หลังจากนั้นจึงค่อยลงซัจญฺดะฮฺ ถ้าตั้งใจไม่ยืนตรงนมาซบาฏิล

กะรออัต

ข้อที่ ๒๐๘. นมาซเราะกะอัตที่ ๑ และ ๒ ผู้นมาซต้องกลาวซูเราะฮฺฟาฏิฮะฮฺก่อน หลังจากนั้นจึงกล่าวซูเราะฮฺอีก ๑ ซูเราะฮฺ เช่น กล่าวซูเราะฮฺเตาฮีด เป็นต้น ดังตัวอย่าง

ซูเราะฮฺฟาฏิฮะฮฺ

بِِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ

الْحَمْدُ لِلّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ. اَلرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ مَالِكِ يَوْمِ الدِّينِ. إيَّاكَ نَعْبُدُ وإِيَّاكَ نَسْتَعِينُ. اِهْدِنَا الصِّرَاطَ المُسْتَقِيمَ صِرَاطَ الَّذِينَ أَنعَمْتَ عَلَيهِمْ غَيرِ المَغضُوبِ عَلَيهِمْ وَلاَ الضَّالِّينَ

ซูเราะฮฺเตาฮีด

بِِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ

قُلْ هُوَ اللَّهُ أَحَدٌ اللَّهُ الصَّمَدُ لَمْ يَلِدْ وَلَمْ يُولَدْ وَلَمْ يَكُن لَّهُ كُفُوًا أَحَدٌ 

ส่วนเราะกะอัตที่ ๓ และ ๔ ให้กล่าวเฉพาะซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺอย่างเดียวโดยไม่ต้องกล่าวซูเราะฮฺอื่น หรือกล่าวเฉพาะตัซบีฮาตอัรบะอะฮฺ ซึ่งอิฮฺติยาฏวาญิบใก้กล่าวตัซบีฮาต ๓ ครั้ง

ตัซบีฮาตอัรบะอะฮฺ

سُبْحَانَ اللهِ وَالْحَمْدُ لِلَّهِ وَلاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ وَ اللهُ اَكْبِرُ

เงื่อนไขการอ่าน

ข้อที่ ๒๐๙. นมาซเราะกะอัตที่ ๓ และ ๔ ให้กล่าวซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺอย่างเดียว หรือกล่าวตัซบีฮาตอัรบะอะฮฺค่อย ๆ

ข้อที่ ๒๑๐. นมาซซุฮฺริและอัซรฺเราะกะอัตที่ ๑ และ ๒ ให้กล่าวซูเราะฮฺค่อย ๆ เช่นกัน

ข้อที่ ๒๑๑. เด็กชายและผู้ชายเวลากล่าวซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺกํบซูเราะฮฺในเราะกะอัตที่ ๑ และ ๒ ของนมาซซุบฮฺ มัฆริบ และอิชาอฺต้องกล่าวเสียงดัง ส่วนเด็กหญิงกับผู้หญิงให้กล่าวเสียงค่อย แต่ถ้านามะฮะรัมไม่ได้ยินสามารถกล่าวเสียงดังได้

ข้อที่ ๒๑๒. นมาซตรงที่ต้องกล่าวเสียงดังแต่ตั้งใจกล่าวเสียงค่อย ส่วนตรงที่ต้องกล่าวเสียงค่อยแต่ตั้งใจกล่าวเสียงดัง นมาซบาฏิล แต่ถ้าลืมหรือไม่ทราบปัญหา นมาซถูกต้อง

ข้อที่ ๒๑๓. ขณะกล่าวซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺกับซูเราะฮฺอยู่นั้นทราบว่าทำผิด เช่น นมาซนั้นจำเป็นต้องกล่าวเสียงดัง แต่ได้กล่าวเสียงค่อย ส่วนที่กล่าวมาแล้วไม่จำเป็นต้องกล่าวใหม่อีกครั้ง

ข้อที่ ๒๑๔. จำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องนมาซเพื่อจะได้ไม่ผิดพลาด แต่บุคคลที่ไม่สามารถเรียนรู้นมาซได้อย่างถูกต้อง ให้ทำเท่าที่สามารถทำได้ และอิฮฺติยาฏมุซตะฮับให้นมาซร่วมกับญะมาอะฮฺ

รกูอฺ

ข้อที่ ๒๑๕. นมาซทุกเราะกะอัตหลังจากกล่าวซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺและซูเราะฮฺจบแล้ว ให้ก้มโค้งจนกระทั่งฝ่ามือทั้งสองแตะอยู่บนหัวเข่า การก้มเช่นนี้เรียกว่า รุกูอฺ ขณะรุกูอฺนั้นวาญิบต้องกล่าวซิกรฺรุกูอฺด้วย

ข้อที่ ๒๑๖. ขณะรุกูอฺให้กล่าวซิกรฺว่า ซุบฮานัลลอฮิ ๓ ครั้ง หรือกล่าวเพียงครั้งเดียวว่า ซุบฮานะร็อบบิยัลอะซีมิวะบิฮัมดีฮี

ข้อที่ ๒๑๗. ขณะที่กล่าวซิกรฺรุกูอฺร่างกายต้องสงบนิ่ง

ข้อที่ ๒๑๘. ถ้าก้มมากเกินปกติและร่างกายนิ่งแล้ว ตั้งใจกล่าวซิกรฺรุกูอฺออกมานมาซบาฏิล

ข้อที่ ๒๑๙. ถ้าก่อนที่จะกล่าวซิกรฺรุกูอฺจบตั้งใจเงยศีรษะขึ้นมา นมาซบาฏิล